การผ่าตัดแก้ไขในกรณีเคยเสริมจมูกมาก่อน 2017-11-17T20:44:31+00:00

การผ่าตัดแก้ไขในกรณีเคยเสริมจมูกมาก่อน

GRACE PLASTIC SURGERY

การผ่าตัดแก้ไขกรณีที่เคยเสริมจมูกมาก่อนคืออะไร?

มีหลายสาเหตุที่ทำให้การผ่าตัดเสริมจมูกครั้งก่อน จำเป็นต้องได้รับการแก้ไข เช่น ถ้าคุณยังไม่พอใจกับผลการผ่าตัดที่ผ่านมา, วัสดุเสริมมีความเสียหายจากหลายๆสาเหตุ, ทรงจมูกเปลี่ยนไป ไม่สวย, มีการติดเชื้อ, เป็นต้น การผ่าตัดแก้ไขสามารถทำได้ แต่จะซับซ้อนและอาศัยประสบการณ์และเทคนิคที่ยากขึ้น เราขอแนะนำให้เข้ารับการแก้ไขด้วยศัลยแพทย์ตกแต่งที่มีประสบการณ์โดยตรง

ตัวอย่างผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดแก้ไข กรณีที่เคยเสริมจมูกมาก่อน

ระยะเวลาที่เหมาะจะผ่าตัดแก้ไขอีกครั้ง กรณีที่เคยเสริมจมูกมาก่อน

โดยทั่วไปแล้ว การผ่าตัดแก้ไขอีกครั้ง ควรจะทำหลังจากการผ่าตัดครั้งแรกอย่างน้อย 6 เดือน เพื่อให้เนื้อเยื่อและแผลเป็นคงที่และไม่แข็งตัว การเลาะพังผืดแก้ไขทำได้ง่ายขึ้น แต่หากการผ่าตัดเสริมจมูกครั้งก่อนเป็นเพียงการเสริมจมูกด้วยวัสดุเสริม การแก้ไขอาจทำได้เร็วขึ้น คือประมาณ 3 เดือนหลังการผ่าตัดครั้งแรก กรณีที่มีปัญหาติดเชื้อ จำเป็นจำต้องผ่าตัดเพื่อนำวัสดุเสริมออก และรักษาการติดเชื้อให้หายสนิท จากนั้น ค่อยผ่าตัดเสริมทรงจมูกใหม่อีกครั้งหนึ่ง

การผ่าตัดแก้ไขทรงจมูกด้วยสเต็มเซลล์

เพื่อให้ได้ทรงจมูกใหม่ที่สวยงามและถาวร เนื้อเยื่อรอบๆ ที่จะเป็นตัวพยุงวัสดุเสริมจำเป็นจะต้องแข็งแรง ดังนั้นการผ่าตัดแก้ไขทรงจมูกนั้น จำเป็นจะต้องแก้ทั้งเนื้อเยื่อด้านใน และด้านนอกให้พอดีกับทรงจมูกใหม่ หลักสำคัญมีอยู่ 3 ประการ ได้แก่ ประการแรก การเลาะพังผืดที่เกิดจากการผ่าตัดครั้งก่อนรอบๆ จมูกให้หลวม ประการต่อมาคือ ปรับให้พื้นที่ในเนื้อเยื่อจมูก เหมาะแก่การใส่วัสดุเสริมใหม่ที่มีทรงแตกต่างจากเดิม และประการสุดท้าย คือ ผิวหนังรอบจมูกจะต้องครอบพอดีกับทรงจมูกใหม่ กรณีที่จมูกเดิมมีพังผืดแข็ง ทำให้การแก้ไขหลักทั้ง 3 ประการข้างต้นเป็นไปได้ยาก แนะนำให้รอต่ออีกประมาณ 6 เดือน เพื่อให้เนื้อเยื่อและพังผืดนิ่มขึ้น นอกจากนี้ พบว่าการใช้สเต็มเซลล์ฉีด จะช่วยให้การซ่อมแซมเนื้อเยื่อรอบๆ เป็นไปได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

ผลของการรักษาด้วยสเต็มเซลล์

ได้รับการรับรองแล้วว่าสามารถช่วยซ่อมแซมเซลล์ในเนื้อเยื่อได้

การใช้สเต็มเซลล์ได้ผ่านการวิจัยและเป็นที่ยอมรับว่าได้ผลในการรักษาแผลในตำแหน่งต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงการเกิดแผลเป็นเรื้อรังที่จมูกด้วย มีการศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ในการใช้รักษาจมูกที่เคยได้รับการผ่าตัดมาแล้วและเกิดพังผืดแข็ง โดยการฉีดน้ำเกลือ, การปลูกถ่ายเซลล์ไขมัน, การฉีดสเต็มเซลล์ ซึ่งวิธีการเหล่านี้นั้น พบว่า การปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ได้ผลดี โดยจะทำให้ผิวหนังและเนื้อเยื่อรอบๆ จมูกนิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป อ, การปลูกถ่ายเซลล์ไขมัน, การฉีดสเต็มเซลล์ ซึ่งวิธีการเหล่านี้นั้น พบว่า การปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ได้ผลดี โดยจะทำให้ผิวหนังและเนื้อเยื่อรอบๆ จมูกนิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป จมูกที่ผ่านการผ่าตัดมาก่อนและเกิดพังผืดแข็ง ; การฉีดน้ำเกลือรักษา , การปลูกถ่ายไขมัน , การรักษาด้วยการฉีดสเต็มเซลล์

ย่นระยะเวลาการรอการผ่าตัดแก้ไขกรณีที่เคยเสริมจมูกมาก่อนให้เร็วขึ้น

การฉีดสเต็มเซลล์จะช่วยกระตุ้นวงจรการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อให้ส่วนพังผืดนิ่มขึ้นอย่างร่วมเร็ว ทำให้ไม่จำเป็นต้องรอนานถึง 6 เดือนเพื่อจะผ่าตัดแก้ไขซ้ำ หลังฉีดสเต็มเซลล์ 1 เดือน พังผืดจะนิ่มขึ้น และสามารถเข้ารับการผ่าตัดแก้ไขจมูกได้เลย

ให้ผลการผ่าตัดที่ดีและคงที่

กรณีที่ผ่าตัดแก้ไขซ้ำและได้ทรงจมูกใหม่ที่สวยงามพอใจแล้ว แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไป เนื้อเยื่อรอบๆ จมูกและอวัยวะเสริมมักจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอีกช้าๆ ซึ่งจะมากน้อยแตกต่างกันตามผิวหนังของแต่ละคน ทำให้ทรงจมูกเปลี่ยนแปลงไปอีก กรณีนี้ ป้องกันได้ด้วยการฉีดสเต็มเซลล์ ซึ่งจะช่วยให้เนื้อเยื่อรอบๆ บริเวณผ่าตัดใหม่มีความยืดหยุ่น และคงที่ จมูกไม่เสียทรงเมื่อเวลาผ่านไป

코재수술 사례

코재수술이 필요한 경우

ตัวอย่างรายที่เคยเสริมจมูกแล้วต่อมามีการเคลื่อนตำแหน่งของวัสดุเสริม

อาการ

เมื่อวัสดุเสริมเคลื่อนตำแหน่ง เช่น เอียงไปข้างจมูก เลื่อนขึ้นสูง หรือลงต่ำกว่าตำแหน่งเดิม จะทำให้ทรงจมูกดูแปลกและไม่สวย

การผ่าตัดแก้ไข

เราจะทำการผ่าตัดเอาวัสดุเสริมเดิมที่เคลื่อนตำแหน่งออก ใส่วัสดุเสริมที่เหลาปรับทรงใหม่ให้พอดี เมื่อใส่เข้าตำแหน่งแล้วจะทำการเย็บเสริมเพื่อให้ตำแหน่งเข้าที่ ไม่เคลื่อนอีก

ตัวอย่างกรณีเคยเสริมจมูกแล้วต่อมาปลายจมูกยุบตัว

อาการ

การยุบตัวของทรงจมูกมักเกิดหลังการผ่าตัดที่มีภาวะติดเชื้อแทรกซ้อน ตำแหน่งที่ติดเชื้อมักมีพังผืดและหดตัว หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง จะทำให้ทรงจมูกยุบ สั้นและแข็ง

การผ่าตัดแก้ไข

เราจำเป็นจะต้องนำวัสดุเสริมเดิมที่ทำให้เกิดการติดเชื้อออก การเสริมจมูกใหม่แนะนำให้ใช้เนื้อเยื่อตนเองมาแทนวัสดุเสริมสังเคราะห์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำซ้อน ร่วมกับการใช้วัสดุเสริมชิ้นใหม่ ซึ่งต้องมั่นในความสะอาดปราศจากเชื้อ และกรณีจมูกสั้น จะใช้ผนังกั้นจมูกส่วนที่เป็นกระดูกอ่อน หรือกระดูกอ่อนบริเวณซี่โครงเสริมให้ยาวขึ้นด้วย

ตัวอย่างการผ่าตัดแก้ไขจมูกเสียทรง กรณีเสริมด้วยซิลิโคนทรง “L”

อาการ

การเสริมจมูกด้วยซิลิโคนทรง L จะทำให้ผิวที่ปลายจมูกถูกดึงยืด อาจทำให้เกิดความเสียหายที่ผิวปลายจมูกตามมาได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เช่น ผิวปลายจมูกบางลง หรืออาจรุนแรงจนซิลิโคนทะลุออกมาข้างนอก

การผ่าตัดแก้ไข

การผ่าตัดแก้ไข จะเอาซิลิโคนทรง L ชิ้นเดิมออก และเสริมจมูกให้โด่งด้วยวัสดุเสริมอันใหม่ ด้วยการเหลาปรับทรงให้พอดี จากนั้นจะใช้กระดูกอ่อนของตนเอง มาเสริมปลายจมูกให้พุ่งสวย

ตัวอย่างการผ่าตัดแก้ไขหลังการเสริมจมูกแต่ได้ทรงไม่เข้ากับใบหน้า

อาการ

บางคนหลังผ่าตัดเสริมจมูกแล้ว ได้ทรงจมูกใหม่ ซึ่งทำให้ใบหน้าดูแปลก เช่น ในกรณีที่ตำแหน่งวัสดุเสริมสูงเกินไป หรือทรงปลายจมูกแหลมเกินไป

การผ่าตัดแก้ไข

การผ่าตัดแก้ไขจะให้ความสำคัญตั้งแต่การดีไซน์ทรงจมูกใหม่ให้เข้ากับใบหน้า ผ่าตัดแก้ไขตำแหน่งของการวางวัสดุเสริมจมูกที่สูงเกินไป ให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ปรับสัดส่วนและขนาดวัสดุเสริมให้พอดี จากนั้น ปรับทรงปลายจมูกให้โค้งมนสวยรับกันทั้งสันจมูกและใบหน้า

ตัวอย่างการแก้ไขกรณีที่เคยฉีดสารพาราฟินเสริมจมูก

อาการ

การฉีดสารสังเคราะห์เช่น ซิสิโคนเหลว, พาราฟิน, วาสลีน เพื่อเสริมจมูกนั้น สารเหล่านี้จะซึมเข้าไปแทรกอยู่ในเนื้อเยื่อรอบๆ จมูก และบ่อยครั้ง ทำให้เกิดการติดเชื้อตามมา เนื้อเยื่อรอบๆที่ผ่านการติดเชื้อ แม้รักษาให้หายอักเสบแล้ว เนื้อเยื่อจะแข็งขึ้นและมีพังผืดเกิด ทำให้ผิวจมูกไม่เรียบสม่ำเสมอเมื่อเวลาผ่านไป

การผ่าตัดแก้ไข

การแก้ไขในกรณีเช่นนี้ เป็นการผ่าตัดที่ยากและใช้เวลานาน เราจำเป็นจะต้องเลาะเนื้อเยื่อแข็งที่เคยผ่านการติดเชื้อโดยรอบจมูกออกให้มากที่สุด จากนั้น เสริมจมูกใหม่โดยใช้เนื้อเยื่อและกระดูกอ่อนของตนเองเพื่อให้สวยและปลอดภัยในระยะยาว

การผ่าตัดแก้ไข กรณีแพ้วัสดุเสริมจมูกเดิม

อาการ

ภาวะนี้พบได้น้อย แต่หากมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง จมูกบวม โดยไม่พบมีสาเหตุอื่น อาจเป็นจากการแพ้วัสดุเสริมได้

การผ่าตัดแก้ไข

การทำนายว่าใครจะเกิดการแพ้วัสดุเสริมหรือไม่นั้นทำได้ยาก หากไม่มีประวัติการแพ้สารเหล่านี้มาก่อน แต่หากเกิดอาการแพ้ จำเป็นต้องผ่าตัดแก้ไข โดยจะต้องนำวัสดุเสริมชิ้นเก่าออก และเสริมจมูกใหม่ด้วยการใช้เนื้อเยื่อและกระดูกอ่อนตนเองมาใช้

หลักสำคัญของการผ่าตัดแก้ไขกรณีเสริมจมูกมาก่อนของ Grace!

1) ใช้เนื้อเยื่อของตนเองมาเสริม

การผ่าตัดซ้ำจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และทรงจมูกอาจเปลี่ยนแปลงไปได้เมื่อเวลาผ่านไป เพราะแผลจะเกิดพังผืดได้เยอะกว่า ดังนั้น เราแนะนำให้ใช้เทคนิคการปลูกถ่ายกระดูกอ่อนจากตำแหน่งต่างๆ เช่น ผนังกั้นจมูก, ใบหู หรือ กระดูกซี่โครง รวมถึงการปลูกถ่ายไขมัน เพื่อให้ได้ทรงจมูกใหม่ที่ทรงอยู่สวยถาวรและปลอดภัย

A.กระดูกอ่อนจากใบหู

B.กระดูกอ่อนจากซี่โครง

C.กระดูกอ่อนจากผนังกั้นจมูก

D.ไขมันชั้นใต้ผิวหนัง

A.ears-cartilage

B.costicartilage

C.cartilage of nasal septum

C.dermal fat

2) ตัดเนื้อเยื่อเดิมออกให้น้อยที่สุด

การเลาะพังผืดให้ได้มากที่สุด โดยไม่ตัดเนื้อเยื่อดี เป็นขั้นตอนสำคัญในการเริ่มผ่าตัดแก้ไขการเสริมจมูก เพื่อให้เนื้อเยื่อพยุงรอบๆ เพียงพอต่อการเสริมจมูกใหม่ด้วยเทคนิคต่างๆ โดยที่ Grace ของเรา ด้วยประสบการณ์ของศัลยแพทย์ตกแต่ง ที่มีความเชี่ยวชาญ การผ่าตัดประณีต สามารถรักษาเนื้อเยื่อดีไว้ได้เยอะ และปรับแต่งทรงจมูกใหม่ให้สวยและปลอดภัย โดยใช้เวลาไม่นาน

3) 재수술의 원인을 정확히 파악하고 계획하여 교정합니다.

재수술은 고객에게도 상당히 민감한 부분이며, 의료진에게도 상대적으로 난이도가 높은 수술입니다.
완성도 높은 재수술을 위해서는 첫 수술의 실패 원인이 무엇인지 정확하게 파악하는 것이 중요합니다.

The method of the hawk nose

01 หลังการผ่าตัดจมูกจะบวม โดยเฉพาะ 2-4 วันแรกหลังการผ่าตัด ซึ่งจะใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 2-4 สัปดาห์ ในการยุบบวม

02 ช่วงแรกอาจมีน้ำมูกปนเลือดไหลออกจากจมูกหรือไหลลงคอได้ ซึ่งใช้ผ้ากอซสะอาดซับเบาๆ และระวังไม่กลืนกอซลงคอ

03 การนั่งเยอะๆตอนเช้า ใน 3 วันแรกหลังการผ่าตัด หรือการนอนศีรษะสูง จะช่วยให้ยุบบวมได้เร็วขึ้น

04 แนะนำให้ใส่ตัวพยุงจมูกครอบไว้ประมาณหนึ่งสัปดาห์

05 หลีกเลี่ยงการสั่งน้ำมูกแรงๆ หรือการขยี้จมูกแรงๆ เพื่อไม่ให้แผลผ่าตัดปริหรือวัสดุเสริมจมูกเคลื่อน

06 ระวังไม่ให้เกิดการกระแทกจมูก และควรหลีกเลี่ยงการใส่แว่นตา ซึ่งจะกดบนจมูกประมาณ หนึ่งเดือน

07 งดการว่ายน้ำ, เข้าซาวน่า หรือสปาร้อนประมาณ หนึ่งเดือน

08 งดดื่มสุราและสูบบุหรี่อย่างน้อยหนึ่งเดือน

ผลข้างเคียงจากการผ่าตัดที่เกิดขึ้นได้ เช่น เลือดออก, แผลติดเชื้อ เป็นต้น ซึ่งอัตราการเกิดและความรุนแรงจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล โดยแต่ละคน จะได้รับคำแนะนำและข้อมูลถึงผลข้างเคียงเหล่านี้อย่างละเอียดก่อนเข้ารับการผ่าตัดเพื่อประกอบการตัดสินใจ

line