การผ่าตัดแก้ไขแผลเป็น
GRACE PLASTIC SURGERY

การผ่าตัดแก้ไขแผลเป็นคืออะไร
เมื่อเกิดแผล กระบวนการสมานแผลจะค่อยเป็นค่อยไป ในบางส่วนของแผลอาจจะหนาและนูนขึ้น ขึ้นกับตำแหน่งของแผล รูปร่างของแผลและสีของผิวเดิม
การผ่าตัดแก้ไขแผลเป็น เป็นการจัดการกับแผลเป็นเดิมให้จางลงโดยปราศจากความเจ็บปวด
การผ่าตัดแก้ไขแผลเป็นช่วงเวลาไหนถึงจะเหมาะสม
แนะนำให้ผ่าตัดแก้ไขแผลเป็น โดยรอประมาณ 6 เดือน หรือในบางรายอาจรอนานถึง 12 เดือน เพราะในบางราย กระบวนการเกิดแผลเป็นเกิดอย่างช้าๆ ทำให้กว่าแผลจะนิ่มและเข้าที่ใช้เวลานาน
จุดเด่นของการผ่าตัดแก้ไขแผลเป็นที่ Grace
แก้ไขแผลเป็นให้เรียบสวยด้วยประสบการณ์ที่ยาวนาน
การประเมินว่าแผลเป็นนั้น ควรจะแก้ไขได้เมื่อใด ด้วยเทคนิคอะไร การผ่าตัดแบบไหนจะเหมาะสม ล้วนต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์ของศัลยแพทย์ทั้งสิ้น เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ
ลักษณะของแผลเป็นแบบต่างๆ
คีลอยด์
แผลเป็นแบบนูน
แผลเป็นแนวกว้าง
แผลเป็นสีเข้มกว่าสีผิว
แผลเป็นแบบผิวขรุขระ-หลุมสิว
วิธีการผ่าตัดแก้ไขแผลเป็น
การผ่าตัดแก้ไขแผลเป็นนั้นเป็นการผ่าตัดที่ท้าทาย
ประเมินลักษณะแผลเป็นเดิม ดูขนาด ตำแหน่งและทิศทางวางตัวของแผล ลักษณะผิวและแนวรอยยับของผิวโดยรอบ เพื่อดีไซน์การลงแนวแผลผ่าตัดให้เหมาะสม และสามารถซ่อนแผลได้แนบเนียน
การลงแผลผ่าตัดทรงกระสวย

หากแผลเป็นวางตัวในแนวรอยย่นของผิวหนัง การลงแผลแก้ไขแผลเป็นมักจะลงให้ซ่อนใต้รอยย่นของผิวเป็นแผลทรงกระสวย การผ่าตัด ทำโดยตัดแผลเป็นเดิมออกและเย็บใหม่ให้ผิวเรียบสม่ำเสมอ จะได้แผลเป็นที่แนวตรง และเนียนไปกับรอยย่นของผิว
การผ่าตัดแก้ไขแผลเป็นแบบ W

หากรอยแผลเป็นวางตัวแนวขวางกับรอยพับของผิวหนัง จำเป็นต้องลงแผลเพื่อเปลี่ยนแนวเย็บ ให้เป็นรอยเย็บน้อยที่สุด เทคนิคนี้จะได้ประโยชน์ในแผลเป็นขนาดใหญ่ด้วย แม้แผลหลังผ่าตัดจะยาวกว่าเดิม แต่เมื่อเวลาผ่านไปรอยแผลจะจางลงได้
การผ่าตัดแก้ไขแผลเป็นแบบ Z

กรณีแผลเป็นดึงรั้งมาก การลงแผลตัว Z เป็นเทคนิคที่แก้ไขที่เหมาะสม ตัดแผลเดิมออกและเย็บปิดให้แผลเรียบ รอยแผลรูปตัว Z ค่อยๆ จางลงได้ตามเวลา
การเย็บแผลให้ขอบแผลพอดีและยกขึ้นเล็กน้อย

หลังการตัดแผลเป็นเดิมออกไปแล้ว ขั้นตอนการเย็บให้ขอบแผลพอดีกัน แต่ยกขึ้นเล็กน้อย จะช่วยให้แผลหายแบบไม่เกิดการดึงรั้งใหม่ ไม่เกิดพังผืดดึงรั้ง การเกิดแผลเป็นซ้ำน้อย และไม่มีลักษณะนูนออกแบบแผลเป็นเดิม
การฉีดสเต็มเซลล์
พิสูจน์แล้วว่าได้ผลในการสมานแผล |
---|
ระยะเวลาผ่าตัดสั้น |
---|
พิสูจน์แล้วว่าได้ผลในการสมานแผล |
---|
ระยะเวลาผ่าตัดสั้น |
---|
การผ่าตัดหลายระยะ
กรณีแผลเป็นใหญ่มาก และไม่สามารถตัดออกให้หมดในครั้งเดียว การผ่าตัดออกเป็นระยะ จะทำได้โดยการตัดแบ่งแผลเป็นออกทีละส่วน แผลสมานแล้วตัดเพิ่ม อาจแบ่งการผ่าตัดออกเป็น 2-3 ครั้ง เพื่อให้แก้ไขได้หมด
การผ่าตัดแก้ไขแผลเป็นร่วมกับการขยายผิวหนัง
หากการผ่าตัดหลายระยะ 2-3 ครั้งแล้วยังไม่สามารถตัดออกได้หมด การใช้เทคนิคการขยายผิวหนังจะช่วยได้ ผิวรอบๆ รอยแผลเป็นจะถูกขยายออก เพื่อให้ใหญ่พอที่จะครอบคลุมบริเวณที่จะตัดแผลเป็นโดยไม่ดึงรั้งมาก
การรักษาแผลเป็นด้วยเลเซอร์ (หลุ่มสิว, แผลเป็นผ่าตัดเปิดหัวตา)
การเซาะพังผืด
จุดสำคัญของการผ่าตัดแก้ไขแผลเป็น !

ปราศจากแผลเป็น !
การผ่าตัดแก้ไขแผลเป็นอาจทำให้เกิดแผลเป็นใหม่ได้ การเลือกวิธีลงแผล ทิศทางของแผล ความกว้าง และตำแหน่งของผิวหนังจำเป็นต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด ทิศทางของแผลควรจะเป็นแนวที่สามารถซ่อนรอยแผลใหม่ ในรอยพับผิวหนังได้ การเย็บแผลให้สูงขึ้นเล็กน้อย ทำให้แผลสมานได้อย่างไม่มีแรงดึงมาก

การให้ความสำคัญในการดูแลหลังการผ่าตัด
การดูแลหลังผ่าตัดเป็นส่วนสำคัญพอๆ กับกระบวนการผ่าตัดเช่นกัน การดูแลไม่ให้แผลเป็นใหญ่ การใช้สายรัด นาน 3-4 สัปดาห์ หลังตัดไหม จะช่วยให้แผลเป็นไม่กว้างขึ้น ในคนที่มีผิวหนังบางเป็นแผลเป็นง่าย จะให้การปิดแผลด้วยซิลิโคนหรือการทาด้วยขี้ผึ้ง แนะนำให้ใช้ครีมกันแดดทานาน 6 เดือนหลังการผ่าตัด

ปราศจากแผลเป็น !
การผ่าตัดแก้ไขแผลเป็นอาจทำให้เกิดแผลเป็นใหม่ได้ การเลือกวิธีลงแผล ทิศทางของแผล ความกว้าง และตำแหน่งของผิวหนังจำเป็นต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด ทิศทางของแผลควรจะเป็นแนวที่สามารถซ่อนรอยแผลใหม่ ในรอยพับผิวหนังได้ การเย็บแผลให้สูงขึ้นเล็กน้อย ทำให้แผลสมานได้อย่างไม่มีแรงดึงมาก
