การผ่าตัดแก้ไขในกรณีเคยเสริมจมูกมาก่อน
GRACE PLASTIC SURGERY
การผ่าตัดแก้ไขกรณีที่เคยเสริมจมูกมาก่อนคืออะไร?
มีหลายสาเหตุที่ทำให้การผ่าตัดเสริมจมูกครั้งก่อน จำเป็นต้องได้รับการแก้ไข เช่น ถ้าคุณยังไม่พอใจกับผลการผ่าตัดที่ผ่านมา, วัสดุเสริมมีความเสียหายจากหลายๆสาเหตุ, ทรงจมูกเปลี่ยนไป ไม่สวย, มีการติดเชื้อ, เป็นต้น การผ่าตัดแก้ไขสามารถทำได้ แต่จะซับซ้อนและอาศัยประสบการณ์และเทคนิคที่ยากขึ้น เราขอแนะนำให้เข้ารับการแก้ไขด้วยศัลยแพทย์ตกแต่งที่มีประสบการณ์โดยตรง
ตัวอย่างผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดแก้ไข กรณีที่เคยเสริมจมูกมาก่อน
ระยะเวลาที่เหมาะจะผ่าตัดแก้ไขอีกครั้ง กรณีที่เคยเสริมจมูกมาก่อน
โดยทั่วไปแล้ว การผ่าตัดแก้ไขอีกครั้ง ควรจะทำหลังจากการผ่าตัดครั้งแรกอย่างน้อย 6 เดือน เพื่อให้เนื้อเยื่อและแผลเป็นคงที่และไม่แข็งตัว การเลาะพังผืดแก้ไขทำได้ง่ายขึ้น แต่หากการผ่าตัดเสริมจมูกครั้งก่อนเป็นเพียงการเสริมจมูกด้วยวัสดุเสริม การแก้ไขอาจทำได้เร็วขึ้น คือประมาณ 3 เดือนหลังการผ่าตัดครั้งแรก กรณีที่มีปัญหาติดเชื้อ จำเป็นจำต้องผ่าตัดเพื่อนำวัสดุเสริมออก และรักษาการติดเชื้อให้หายสนิท จากนั้น ค่อยผ่าตัดเสริมทรงจมูกใหม่อีกครั้งหนึ่ง
การผ่าตัดแก้ไขทรงจมูกด้วยสเต็มเซลล์
เพื่อให้ได้ทรงจมูกใหม่ที่สวยงามและถาวร เนื้อเยื่อรอบๆ ที่จะเป็นตัวพยุงวัสดุเสริมจำเป็นจะต้องแข็งแรง ดังนั้นการผ่าตัดแก้ไขทรงจมูกนั้น จำเป็นจะต้องแก้ทั้งเนื้อเยื่อด้านใน และด้านนอกให้พอดีกับทรงจมูกใหม่ หลักสำคัญมีอยู่ 3 ประการ ได้แก่ ประการแรก การเลาะพังผืดที่เกิดจากการผ่าตัดครั้งก่อนรอบๆ จมูกให้หลวม ประการต่อมาคือ ปรับให้พื้นที่ในเนื้อเยื่อจมูก เหมาะแก่การใส่วัสดุเสริมใหม่ที่มีทรงแตกต่างจากเดิม และประการสุดท้าย คือ ผิวหนังรอบจมูกจะต้องครอบพอดีกับทรงจมูกใหม่ กรณีที่จมูกเดิมมีพังผืดแข็ง ทำให้การแก้ไขหลักทั้ง 3 ประการข้างต้นเป็นไปได้ยาก แนะนำให้รอต่ออีกประมาณ 6 เดือน เพื่อให้เนื้อเยื่อและพังผืดนิ่มขึ้น นอกจากนี้ พบว่าการใช้สเต็มเซลล์ฉีด จะช่วยให้การซ่อมแซมเนื้อเยื่อรอบๆ เป็นไปได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
ผลของการรักษาด้วยสเต็มเซลล์
ได้รับการรับรองแล้วว่าสามารถช่วยซ่อมแซมเซลล์ในเนื้อเยื่อได้
การใช้สเต็มเซลล์ได้ผ่านการวิจัยและเป็นที่ยอมรับว่าได้ผลในการรักษาแผลในตำแหน่งต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงการเกิดแผลเป็นเรื้อรังที่จมูกด้วย มีการศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ในการใช้รักษาจมูกที่เคยได้รับการผ่าตัดมาแล้วและเกิดพังผืดแข็ง โดยการฉีดน้ำเกลือ, การปลูกถ่ายเซลล์ไขมัน, การฉีดสเต็มเซลล์ ซึ่งวิธีการเหล่านี้นั้น พบว่า การปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ได้ผลดี โดยจะทำให้ผิวหนังและเนื้อเยื่อรอบๆ จมูกนิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป อ, การปลูกถ่ายเซลล์ไขมัน, การฉีดสเต็มเซลล์ ซึ่งวิธีการเหล่านี้นั้น พบว่า การปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ได้ผลดี โดยจะทำให้ผิวหนังและเนื้อเยื่อรอบๆ จมูกนิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป จมูกที่ผ่านการผ่าตัดมาก่อนและเกิดพังผืดแข็ง ; การฉีดน้ำเกลือรักษา , การปลูกถ่ายไขมัน , การรักษาด้วยการฉีดสเต็มเซลล์
ย่นระยะเวลาการรอการผ่าตัดแก้ไขกรณีที่เคยเสริมจมูกมาก่อนให้เร็วขึ้น
การฉีดสเต็มเซลล์จะช่วยกระตุ้นวงจรการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อให้ส่วนพังผืดนิ่มขึ้นอย่างร่วมเร็ว ทำให้ไม่จำเป็นต้องรอนานถึง 6 เดือนเพื่อจะผ่าตัดแก้ไขซ้ำ หลังฉีดสเต็มเซลล์ 1 เดือน พังผืดจะนิ่มขึ้น และสามารถเข้ารับการผ่าตัดแก้ไขจมูกได้เลย
ให้ผลการผ่าตัดที่ดีและคงที่
กรณีที่ผ่าตัดแก้ไขซ้ำและได้ทรงจมูกใหม่ที่สวยงามพอใจแล้ว แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไป เนื้อเยื่อรอบๆ จมูกและอวัยวะเสริมมักจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอีกช้าๆ ซึ่งจะมากน้อยแตกต่างกันตามผิวหนังของแต่ละคน ทำให้ทรงจมูกเปลี่ยนแปลงไปอีก กรณีนี้ ป้องกันได้ด้วยการฉีดสเต็มเซลล์ ซึ่งจะช่วยให้เนื้อเยื่อรอบๆ บริเวณผ่าตัดใหม่มีความยืดหยุ่น และคงที่ จมูกไม่เสียทรงเมื่อเวลาผ่านไป
코재수술 사례
코재수술이 필요한 경우
ตัวอย่างรายที่เคยเสริมจมูกแล้วต่อมามีการเคลื่อนตำแหน่งของวัสดุเสริม
อาการ |
---|
เมื่อวัสดุเสริมเคลื่อนตำแหน่ง เช่น เอียงไปข้างจมูก เลื่อนขึ้นสูง หรือลงต่ำกว่าตำแหน่งเดิม จะทำให้ทรงจมูกดูแปลกและไม่สวย
การผ่าตัดแก้ไข |
---|
เราจะทำการผ่าตัดเอาวัสดุเสริมเดิมที่เคลื่อนตำแหน่งออก ใส่วัสดุเสริมที่เหลาปรับทรงใหม่ให้พอดี เมื่อใส่เข้าตำแหน่งแล้วจะทำการเย็บเสริมเพื่อให้ตำแหน่งเข้าที่ ไม่เคลื่อนอีก
ตัวอย่างกรณีเคยเสริมจมูกแล้วต่อมาปลายจมูกยุบตัว
อาการ |
---|
การยุบตัวของทรงจมูกมักเกิดหลังการผ่าตัดที่มีภาวะติดเชื้อแทรกซ้อน ตำแหน่งที่ติดเชื้อมักมีพังผืดและหดตัว หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง จะทำให้ทรงจมูกยุบ สั้นและแข็ง
การผ่าตัดแก้ไข |
---|
เราจำเป็นจะต้องนำวัสดุเสริมเดิมที่ทำให้เกิดการติดเชื้อออก การเสริมจมูกใหม่แนะนำให้ใช้เนื้อเยื่อตนเองมาแทนวัสดุเสริมสังเคราะห์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำซ้อน ร่วมกับการใช้วัสดุเสริมชิ้นใหม่ ซึ่งต้องมั่นในความสะอาดปราศจากเชื้อ และกรณีจมูกสั้น จะใช้ผนังกั้นจมูกส่วนที่เป็นกระดูกอ่อน หรือกระดูกอ่อนบริเวณซี่โครงเสริมให้ยาวขึ้นด้วย
ตัวอย่างการผ่าตัดแก้ไขจมูกเสียทรง กรณีเสริมด้วยซิลิโคนทรง “L”
อาการ |
---|
การเสริมจมูกด้วยซิลิโคนทรง L จะทำให้ผิวที่ปลายจมูกถูกดึงยืด อาจทำให้เกิดความเสียหายที่ผิวปลายจมูกตามมาได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เช่น ผิวปลายจมูกบางลง หรืออาจรุนแรงจนซิลิโคนทะลุออกมาข้างนอก
การผ่าตัดแก้ไข |
---|
การผ่าตัดแก้ไข จะเอาซิลิโคนทรง L ชิ้นเดิมออก และเสริมจมูกให้โด่งด้วยวัสดุเสริมอันใหม่ ด้วยการเหลาปรับทรงให้พอดี จากนั้นจะใช้กระดูกอ่อนของตนเอง มาเสริมปลายจมูกให้พุ่งสวย
ตัวอย่างการผ่าตัดแก้ไขหลังการเสริมจมูกแต่ได้ทรงไม่เข้ากับใบหน้า
อาการ |
---|
บางคนหลังผ่าตัดเสริมจมูกแล้ว ได้ทรงจมูกใหม่ ซึ่งทำให้ใบหน้าดูแปลก เช่น ในกรณีที่ตำแหน่งวัสดุเสริมสูงเกินไป หรือทรงปลายจมูกแหลมเกินไป
การผ่าตัดแก้ไข |
---|
การผ่าตัดแก้ไขจะให้ความสำคัญตั้งแต่การดีไซน์ทรงจมูกใหม่ให้เข้ากับใบหน้า ผ่าตัดแก้ไขตำแหน่งของการวางวัสดุเสริมจมูกที่สูงเกินไป ให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ปรับสัดส่วนและขนาดวัสดุเสริมให้พอดี จากนั้น ปรับทรงปลายจมูกให้โค้งมนสวยรับกันทั้งสันจมูกและใบหน้า
ตัวอย่างการแก้ไขกรณีที่เคยฉีดสารพาราฟินเสริมจมูก
อาการ |
---|
การฉีดสารสังเคราะห์เช่น ซิสิโคนเหลว, พาราฟิน, วาสลีน เพื่อเสริมจมูกนั้น สารเหล่านี้จะซึมเข้าไปแทรกอยู่ในเนื้อเยื่อรอบๆ จมูก และบ่อยครั้ง ทำให้เกิดการติดเชื้อตามมา เนื้อเยื่อรอบๆที่ผ่านการติดเชื้อ แม้รักษาให้หายอักเสบแล้ว เนื้อเยื่อจะแข็งขึ้นและมีพังผืดเกิด ทำให้ผิวจมูกไม่เรียบสม่ำเสมอเมื่อเวลาผ่านไป
การผ่าตัดแก้ไข |
---|
การแก้ไขในกรณีเช่นนี้ เป็นการผ่าตัดที่ยากและใช้เวลานาน เราจำเป็นจะต้องเลาะเนื้อเยื่อแข็งที่เคยผ่านการติดเชื้อโดยรอบจมูกออกให้มากที่สุด จากนั้น เสริมจมูกใหม่โดยใช้เนื้อเยื่อและกระดูกอ่อนของตนเองเพื่อให้สวยและปลอดภัยในระยะยาว
การผ่าตัดแก้ไข กรณีแพ้วัสดุเสริมจมูกเดิม
อาการ |
---|
ภาวะนี้พบได้น้อย แต่หากมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง จมูกบวม โดยไม่พบมีสาเหตุอื่น อาจเป็นจากการแพ้วัสดุเสริมได้
การผ่าตัดแก้ไข |
---|